ทำไมเวลาหุงข้าวบางครั้งแฉะบางครั้งไม่แฉะ
เกิดจากอะไรได้บ้างแล้วแก้ไขยังไง ผมจะมาเล่าให้ฟังครับสำหรับทุกคนนะครับที่ได้ทำการหุงข้าวเองนะครับบางครั้งบางครั้งก็ไม่แฉะบางครั้ง
เกิดจากอะไรนะครับ
จริงๆแล้วนะครับสาเหตุที่มันแฉะหรือมันไม่แฉะหรือมันพอดีเนี่ยก็เกิดจากน้ำนะครับหลักๆคือเกิดจากน้ำเลยนะครับ
ให้พูดว่าง่ายๆเลยก็คือถ้ามันแฉะเนี่ยแปลว่าน้ำมันเยอะไปนะครับ
แล้วถ้ามันไม่แฉะมันแห้งหรือมันไม่ค่อยสุกเนี่ยมันอาจจะเกิดที่น้ำน้อยไปนะครับ
แต่ทีนี้มันก็เกี่ยวกับตัวข้าวด้วยของเราด้วยว่ามันเป็นข้าวเก่าหรือข้าวใหม่นะครับ
ถ้าข้าวใหม่เนี่ยหมายความว่าข้าวที่เขาเก็บเกี่ยวแล้วนะครับแล้วก็มีกระบวนการลดความชื้นเป็นข้าวแห้ง
แล้วเอามาสีเพื่อเป็นข้าวสารแล้วอายุประมาณซักไม่ถึง 1 ปีนะครับหรือว่าประมาณไม่เกิน 6 เดือน
อย่างนี้ก็ยังถือว่าเป็นข้าวใหม่อยู่นะครับข้าวใหม่นะครับน่าจะต้องใช้น้ำประมาณ 1 ต่อ 1 ข้าว 1 ส่วนน้ำ 1
เพราะว่าถ้าผิดไปจากนี้เราไปเติมน้ำเยอะเกินไปข้าวมันก็จะแฉะได้
หรือว่าถ้าเราไปเติมให้น้ำมันน้อยเกินไปมันก็อาจจะไม่สุกได้นะครับ
อันนี้คือข้าวใหม่นะครับ
ส่วนข้าวเก่าข้าวเก่าเก่าเนี่ยความหมายคือข้าวมันมีอายุนะครับก็คือหลังจากเกษตรกรเก็บเกี่ยวแล้วมีการลดความชื้น
แล้วเอามาสีเป็นข้าวสารเนี่ยเขาเก็บไว้ประมาณ 1 ปีนะครับ 1 ปีขึ้นไป
ก็จะเป็นของเก่าหุงก็จะขึ้นหม้อเป็นเมล็ดสวยงามนะครับ
ข้าวเก่านี้นะครับจะต้องใช้น้ำมากกว่าปกตินะครับจะไม่ใช่ 1 ต่อ 1 ละนะครับก็อาจจะเป็นข้าว 1 ส่วนน้ำ 1.25 ส่วน
หรือว่าข้าว 1 ส่วนน้ำ 1.5 ส่วน
ก็ลองเอาไปปรับดูก่อนนะครับว่าต้องใช้น้ำประมาณไหน
ถ้าเป็นข้าวเก่านะครับทีนี้ข้าวเก่าเขาต้องการน้ำให้มากกว่าเดิม
ถ้าเราอยู่ดีๆเราไม่รู้ว่าเป็นข้าวเก่าแล้วนำไปใช้น้ำเท่ากับข้าวใหม่นะครับหรือว่าใช้น้อยเกินไปเนี่ย
ข้าวมันก็อาจจะไม่สุกได้ปัญหามันเลยเกิดจากตรงนี้นะครับ
ดังนั้นแล้วการแก้ไขนะครับก็คือเราต้องรู้ก่อนว่าเป็นข้าวเก่าหรือข้าวใหม่นะครับเพราะถ้ารู้ว่าเป็นข้าวอะไรนะครับ
เราก็ใช้สัดส่วนน้ำเท่านั้นนะครับแล้วก็อีกนิดนึงนะครับวิธีการก็คือ
เราจะสอบถามแม่ค้าได้นะครับที่เป็นร้านขายข้าวสารว่าตัวนี้ข้าวเก่าหรือข้าวใหม่
อันนี้ก็ได้เหมือนกันนะครับหรือว่าถ้าเป็นถุงบรรจุ 5 กิโลกรัมถุงข้าวสารเขาเขียนว่าข้าวหอมมะลิใหม่อันนี้ก็รู้แล้วว่าเป็นข้าวหอมมะลิใหม่แต่ว่าถ้าเขาเปลี่ยนเขียนว่าเป็นข้าวหอมมะลิเฉยๆเราอาจจะดูนะครับว่า
มันมีลักษณะเป็นความอมเหลืองนิดนึงไหมนะครับเพราะว่าส่วนใหญ่แล้วข้าวเก่าจะอมเหลืองเล็กน้อย
ก็เดาได้ว่าเป็นข้าวเก่านะครับแต่ก็จะไม่แน่นอนนะครับ
แต่ว่าถ้าเข้าดูเป็นถุงข้าวสารไม่มีอะไรเขียนว่าเป็นข้าวหอมมะลิเก่า
ดูข้าวแล้วขาวมากอาจจะเป็นข้าวใหม่ก็จะอันนี้ก็จะเป็นวิธีการสังเกตแต่ถ้าให้ชัวร์ถ้าเราไปซื้อร้านข้าวสาร
ก็ถามนะครับพ่อค้าแม่ค้าเขาได้เลยอันนี้ก็เป็นเทคนิคนะครับ
ที่จะหุงข้าวได้อย่างพอดีอย่างสม่ำเสมอมัน
ก็อยากให้เพื่อนๆลองเอาไปใช้ดูว่าถ้าเราตวงปริมาณน้ำเนี่ยสำคัญมากพอรู้ว่าเป็นข้าวเก่าหรือข้าวใหม่นะครับ
พยายามทดลองนะครับยิ่งถ้าเราเป็นร้านอาหารเนี่ยพยายามทดลองเลยว่าลองน้ำเพิ่มขึ้นนิดนึงน้ำลดลงนิดนึง
ลองดูนะครับเพิ่มขึ้นนิดหน่อยมันจะมีจุดนึงที่มันพอดีแล้วข้าวมันจะนุ่มเพราะบางครั้งเนี่ยพอเราหุงสุกแล้ว
ก็คือปริมาณน้ำถ้ามันเหมาะสมเนี่ยข้าวมันก็จะนุ่มมากเลยนะครับ
แล้วก็ทานอร่อยนะครับตรงนี้ก็แล้วแต่ว่าเพื่อนจะไปใช้ยังไงแต่สุดท้ายแล้วนะครับการหุงข้าวเนี่ยขึ้นอยู่กับว่า
เราหุงให้ใครทานนะครับคนทานชอบแบบไหนเราก็หุงแบบนั้นนะครับ
ยิ่งเป็นร้านอาหารนะครับกลุ่มลูกค้าบริเวณนั้นเขาชอบแบบไหนเราก็ต้องหุงแบบนั้นเขาชอบข้าวแบบไหนเราก็ต้องใช้ข้าวแบบนั้นนะครับ
ผมเคยได้ยินเรื่องเล่าแต่จำไม่ได้แล้วว่าได้ยินมาจากไหนนะครับ
ก็คือมันจะมีวังนะครับแล้วก็มีเขาเรียกว่าเป็นคนหุงข้าวนะครับมีอยู่ 2 คนก็คือคนแรกเนี่ยหุงข้าวเก่งมากกะปริมาณน้ำได้รู้จักข้าวอย่างดีนะครับ
หุงก็รสชาติอร่อยมากแล้วไม่มีใครสู้ได้เลยนะครับกับคนที่ 2 ไม่ได้หุงเก่งนะครับแต่รู้ว่าแต่ละคนนะครับชอบข้าวแบบไหน
ก็อยู่ในวังพระองค์นี้ชอบข้าวแบบนี้พระองค์นี้ชอบข้าวแบบนี้
พวกแขกที่เขามาจากต่างประเทศมาเยี่ยมเยียนเขาชอบข้าวแบบนี้นะครับคนนี้เนี่ยรู้ว่าแต่ละคนชอบข้าวแบบไหนและสามารถหุงได้หลายแบบแล้วให้ตรงกับกลุ่มที่ควรทานแล้วปรากฏว่าไปๆมาๆนะครับคนที่ 2 เนี่ยก็คือสามารถหุงแบบนี้ได้คนชื่นชอบมากที่สุดเพราะว่าเขาสามารถหุงได้หลายแบบและตรงกับกลุ่มคนทานมากที่สุดนั่นเองนะครับถึงแม้จะฝีมือเก่งขนาดไหนรสชาติอร่อยขนาดไหนเหมือนคนแรกนะครับมันก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญมันสำคัญว่าเราหุงให้ใครทาน
อันนี้ก็ฝากไว้เป็นความรู้ให้เพื่อนๆทุกคนได้ลองเอาไปใช้ดู ขอบคุณมากครับ
Facebook: ไทยสามัคคีค้าข้าว
TikTok: ไทยสามัคคีค้าข้าว
0820139913
Line: tidez5465